ร่วมงานกับเรา
ข่าวสารรถจักรยานยนต์ทั่วไป > ทดสอบ "ยามาฮ่า ไดอะซิล" อีกความแตกต่างสู่ประเทศเวียดนาม
ทดสอบ "ยามาฮ่า ไดอะซิล" อีกความแตกต่างสู่ประเทศเวียดนาม
ที่มา - นสพ.สยามกีฬารายวัน วันที่ 12 ส.ค.54

ถ้าใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ค่ายยามาฮ่าละก็ เชื่อได้ว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จัก "ไดอะซิล" เพราะเป็นเทคโนโลยีเครื่องยนต์ใหม่ที่ "ยามาฮ่า" ได้ทำการพัฒนาเสื้อสูบจากอลูมินัมอัลลอยผสมซิลิกอน พร้อมลูกสูบแบบขึ้นรูป จึงทำให้มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแกร่งทนทาน มีคุณลักษณะพิเศษสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่าลูกสูบและเสื้อสูบแบบโลหะทั่วไปได้ถึง 3 เท่า

กล่าวคือ เสื้อสูบและลูกสูบของรถจักรยานยนต์เครื่องไดอะซิล ให้ความทนทานแข็งแกร่ง และสามารถตอบสนองการบิดของนักขี่ได้อย่างน่าประทับใจ เนื่องจากกำลังเครื่องยนต์ไม่ตกแม้ต้องทำงานอย่างหนักหน่วงก็ตามที

และเพื่อตอกย้ำความเป็นเครื่องยนต์ "ไดอะซิล" ทางบริษัท ไทยยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด ได้ไว้ว่างใจให้นิตยสารวงการรถจักรยายนต์ประกอบด้วย นิตยสารไบเกอร์, นิตยสารแดร็กโซน และนิตยสารเดอะเทส์ท ได้ร่วมทำการทดลองขับรถจักรยานยามาฮ่า ภายใต้สินค้าคุณภาพกับสมรรถนะเครื่องยนต์ "ไดอะซิล" กับะระยทางไกลที่เป็นรูปธรรมขึ้นอีกครั้งบนเส้นทาง จากชายแดนช่องเม็ก จ.อุบลราชบุรี สู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วข้ามต่อไปยังสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมระยะทางไป-กลับ ราว 1,200 กม.

การเดินทางทดลองสมรรถนะเครื่องยนต์ "ไดอะซิล" ครั้งนี้ คณะผู้ร่วมทดลองสมรรถนะเลือกใช้รถตลาดทั่วไปกับรถจักรยายนต์ ยามาฮ่า 3 รุ่น 3 สไตล์ ประกอบด้วย ยามาฮ่า สปาร์ค 135 ไอ, ยามาฮ่า มีโอ 125 และยามาฮ่า อีลีแกนซ์ 135 โดยมีผู้เขียนร่วมเป็นสักขีผยานและร่วมแจมในบางช่วงทดสอบ

โดยรถจักรยานยนต์ ทั้ง 3 รุ่นดังกล่าว ล้วนมีเสื้อสูบและกระบอบสูบแบบ "ไดอะซิล" ที่สามารถทนและระบายความร้อนได้สูงกว่าชุดเสื้อสูบทั่วไปได้อย่างเหนือชั้น แม้เส้นทางทดลองขับขี่ครั้งนี้มีความโหดระดับต้นๆ ทีเดียว

เหตุผลมาจากสภาพเส้นทางในการเดินทางของรถจักรยายนต์ยามาฮ่า ทั้ง 3 รุ่น ต้องผ่านอุปสรรคมากมาย กว่าจะเดินทางจากเมืองสู่ เมืองงกโฮย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และเดินทางต่อไปยังแหล่งอารยธรรมและการทอ่งเที่ยวที่เมืองดานัง เมืองฮอยอัน และ เมืองเว้ ตามลำดับก่อนกลับสู่ประเทศไทย

ตลอดเส้นทางดังกล่าวรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ทั้ง 3 รุ่น ต้องไต่ระดับความสูงของเทือกภูเกือบตลอดยะยะทางกว่า 300 กม.ซึ่งในบางช่วงจังหวะของการเดินทาง เครื่องยนต์ "ไดอะซิล" ต้องทำงานอย่างหนักหน่วง เพราะการไต่ระดับความสูงของเทือกภูที่ทอดตัวสู่เมืองตานัง เมืองเว้นั้น มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 800 เมตร และเป็นทางลาดชันที่เชื่อต่อหรือต่อเนื่องกันเป็นระยะทางไกลๆ

การมีส่วนร่วมในการทดลองสมรรถนะยามาฮ่า ทั้ง 3 รุ่น ที่ใช้เครื่องยนต์แบบ "ไดอะซิล" ครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคณะเดินทางยิ่งขึ้น ท่ามกลางการได้สัมผัสรอยอารยธรรม ประเพณีดั้งเดิมชาวเวียดนาม โดยเฉพาะที่เมืองดานัง เมืองฮอยอัน ที่ยังมีกลิ่นการดำเนินชีวิตดั้งเดิมของชาวเวียดนามไว้ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกันอย่างใกล้ชิด

หากจะเล่าถึงการมีส่วนร่วมทดลองสมรรถนะ ยามาฮ่า ทั้ง 3 รุ่น ครั้งนี้ ก็ต้องยอมรับว่า เป็นอะไรๆ ที่สร้างความประทับใจทีเดียว โดยเฉพาะช่วงก่อนการเดินทางกลับสู่ประเทศไทย บนเส้นทาง เมืองไว้ -เทือกเขาลังโกบีช ด่านผ่านแดนลาวบาว (ประเทศเวียดนาม) ซึ่งล้วนมีสภาพเส้นทางทีท้าทายการทำงานของเครื่องยนต์เป็นอย่างมาก ซึ่งนั้นหมายถึงการไต่ระดับความสูงของเทือกภูอย่างที่กล่าวไว้เบื้องต้น สมรรถนะเครื่องยนต์ "ไดอะซิล" ไม่ทำให้ผิดหวัง สามารถตอบสนองการบินคันเร่งได้อย่างไม่มีกำลังตก

นี่อาจเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ความเป็นรถจักรยานยนต์ยามาฮ่า ที่นำเครื่องยนต์ "ไดอะซิล" มาให้กับนักบิดคนไทยทั้งหลายได้ใช้งานจริงบนท้องถนน ที่ส่งผ่านภายใต้รูปลักษณ์ความเท่ของรถจักรยานยนต์ 3 สไตล์ที่ให้สมรรถนะนอกเหนือจากระบบของเครื่องยนต์ทั่วไปแล้ว ยังรวมไปถึงสมรรถนะการทรงตัวที่ตอบโจทย์ได้ในทุกทางโค้งและย่านความเร็ว