ร่วมงานกับเรา
ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ > สถิติยอดขายรถจักรยานยนต์ครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย.46)
ยอดขายรถจักรยานยนต์ครึ่งปีแรกโต 55% ทุกยี่ห้ออัดแคมเปญดันยอด 8.9 แสนคัน
ที่มา : นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2546

ตลาดรถจักรยานยนต์ครึ่งปีแรกโต 55% กวาดยอดขายรวม 8.9 แสนคัน ค่ายรถกระตุ้นตลาดต่อเนื่องทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่และแคมเปญ ขณะที่กำลังซื้อยังคงมีสูง อันเนื่องมาจากสภาพคล่องทางเศรษฐกิจในภาคท้องถิ่น และปัจจัยด้านราคาพืชผลทางการเกษตรที่ดีขึ้น รวมทั้งมีปัจจัยเสริมจากบริษัทด้านสินเชื่อที่ปล่อยวงเงินสินเชื่อมากขึ้น โดยทั้งนี้ เฉพาะเดือนมิ.ย. มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในรอบปี โดยสูงถึง 63%

บริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด รายงานถึงสภาพตลาดรถจักรยานยนต์ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา พบว่าตลาดมีความตื่นตัวและมีความคึกคักเป็นอย่างสูงและต่อเนื่อง โดยมีปริมาณการจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 897,217 คัน และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีปริมาณการจำหน่าย 577,462 คันแล้ว ปรากฏว่ามีปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นถึง 319,755 คันหรือคิดเป็นอัตราการเติบโตของตลาดร้อยละ 55

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวของตลาดนั้น เนื่องมาจากสภาพคล่องทางเศรษฐกิจในภาคท้องถิ่น ประกอบกับปัจจัยในด้านราคาของผลิตผลทางการเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น เป็นผลให้กำลังซื้อในตลาดมีสูง รวมทั้งยังมีปัจจัยเสริมจาการที่บริษัทด้านสินเชื่อมีการปล่อยวงเงินสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีเม็ดเงินไหลหมุนเวียนเข้าสู่ตลาดค่อนข้างมาก

ในขณะที่ค่ายผู้ผลิตต่างๆ มีการจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมการจำหน่ายในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการซื้อ โดยเฉพาะการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด ซึ่งมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาประหยัด โดยนอกจากจะเป็นที่สนใจของผู้บริโภคแล้ว ยังส่งผลให้ตลาดมีการขยายฐานของกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้ที่กว้างมากขึ้น นอกจากนั้นแล้วในด้านร้านจำหน่าย ยังมีการจัดแคมเปญการขายในรูปแบบต่างๆ ทั้งในด้านแคมเปญเงินดาวน์ และแคมเปญการแจกแถมซึ่งกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภคเป็นอย่างดี

สภาพทั่วไปของตลาดในช่วงครึ่งปีแรกปรากฏว่ารถจักรยานยนต์แบบ 4 จังหวะ มีปริมาณการจำหน่าย 875,717 คัน สัดส่วนสูงถึง 98% ขณะที่รถแบบ 2 จังหวะ มีปริมาณการจำหน่าย 21,500 คัน สัดส่วน 2% โดยทั้งนี้รถแบบครอบครัวได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องมาจากรถที่เน้นในด้านจุดเด่นของราคาประหยัด เป็นรถในรูปแบบครอบครัวทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันผู้บริโภคในกลุ่มวัยรุ่น ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ โดยหันมาใช้รถแบบครอบครัวมากขึ้น เนื่องจากความสะดวกสบาย ความประหยัด และความเอนกประสงค์ ประกอบกับรถประเภทนี้ได้รับการออกแบบให้มีความทันสมัย ซึ่งเน้นความเป็นแฟชั่น จึงได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้ใช้วัยรุ่นเป็นอย่างสูง

โดยทั้งนี้รถแบบครอบครัวมีปริมาณการจำหน่ายสูงถึง 811,688 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 91% มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 82% ในขณะที่รถแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ตมีปริมาณการจำหน่าย 73,499 คัน สัดส่วนตลาด 8% อัตราการเติบโตลดลง 36% และรถแบบสปอร์ต 12,030 คัน สัดส่วน 1% อัตราการเติบโตลดลง 30%

ผลิตภัณฑ์
ฮอนด้า
ซูซูกิ
ยามาฮ่า
ไทเกอร์
คาวาซากิ
อื่นๆ
รวม
ม.ค.
จำนวน
99,064
21,733
11,262
4,637
1,929
29
138,654
%
71
16
8
3
1
-
.
ก.พ.
จำนวน
115,077
19,311
14,741
5,254
2,813
17
157,213
%
73
12
9
3
2
-
.
มี.ค.
จำนวน
116,442
20,501
18,039
4,928
2,489
34
162,433
%
72
13
11
3
2
-
.
เม.ย.
จำนวน
97,794
18,628
13,676
3,688
3,267
3
137,056
%
71
14
10
3
2
-
.
พ.ค.
จำนวน
109,981
17,706
14,500
5,100
2,281
3
149,571
%
74
12
10
3
2
-
.
มิ.ย.
จำนวน
108,917
19,370
16,511
3,830
2,536
1,126
152,290
%
72
13
11
3
2
-
.
รวม
จำนวน
647,275
117,249
88,729
27,437
15,315
1,212
897,217
%
72
13
10
3
2
-
.
6 เดือนแรก
ของปี 45
จำนวน
433,047
65,730
57,525
-
20,745
415
577,462
%
75
11
10
-
4
-
46/45
%
149
178
154
-
74
292
155
ที่มา : กรมการขนส่งทางบก

สำหรับปริมาณการจำหน่ายเฉพาะเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นเดือนที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นอันดับสอง ในรอบปีนี้ซึ่งมีอัตราการขยายตัวถึง 63% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเดือนที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุดคือ ก.พ. ขยายตัว 68% ในขณะที่เดือนม.ค. และมี.ค. - พ.ค. มีอัตราการขยายตัว 47%, 58%, 53%, และ 43% ตามลำดับ โดยทั้งนี้ในเดือนมิ.ย. มีปริมาณการจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 152,290 คัน แบ่งเป็นรถครอบครัว 141,611 คัน สัดส่วนตลาด 93% รถแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต 8,948 คัน สัดส่วน 6% และรถแบบสปอร์ต 1,731 คัน สัดส่วน 1%