ร่วมงานกับเรา
ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ > ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์เดือนม.ค.-พ.ย.47
ยอดขายจยย.แตะระดับ 1.8 ล้านคัน
ที่มา – MOTORING นสพ.ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 26-29 ธ.ค.47

ยอดขายรถจักรยานยนต์ปี 47 ใกล้ความจริง 2 ล้านคัน ยอดขาย 11 เดือนแตะระดับ 1.85 ล้านคัน โตเพิ่มขึ้น 16% โดยฮอนด้ายังครองแชมป์เบอร์หนึ่งตามด้วยยามาฮ่า ขณะที่ยอดขายเดือนพ.ย.นั้นสกู๊ตเตอร์มาแรงแซงหน้ารถครอบครัวกึ่งสปอร์ต

บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด รายงานยอดขายรถจักรยานยนต์ในช่วง 11 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ย.) ของปี 2547 ว่า ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อสามารถทำยอดขายได้รวมกันถึง 1,850,282 คัน โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 16% ซึ่งตลอดระยะเวลา 11 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่ายอดขายทุกเดือนมีการเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

รถจักรยานยนต์ยี่ห้อ ฮอนด้า มียอดขายเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยยอดขายสะสม 1,289,172 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 70% เติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 12% อันดับสอง ยามาฮ่า มียอดขายสะสม 256,486 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 14% เติบโตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 58% ซึ่งนับว่ายี่ห้อเดียวที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในตลาด อันดับสาม ซูซูกิ มียอดขายสะสม 232,278 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 13% เติบโตเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อันดับสี่ ไทเกอร์ มียอดขายสะสม 38,400 คัน ส่วนแบ่งตลาด 2% เติบโตลดลง 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อันดับห้า คาวาซากิ ยอดขาย 21,733 คัน ส่วนแบ่งตลาด 1% มีอัตราการเติบโตลดลงมากที่สุดคือ 21% อันดับหก เจอาร์ดี ยอดขาย 10,977 คัน ส่วนแบ่งตลาด 1% เติบโตลดลง 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีทีผ่านมา ส่วนรถจักรยานยนต์ยี่ห้ออื่นๆ ซึ่งเป็นรายย่อยนั้น มียอดขายรวมกันทุกยี่ห้อ 1,216 คัน มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันไม่ถึง 1% แต่ในทางกลับกันมีอัตราการเติบโตที่สูงมารกเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาด้วยตัวเลข 595%

ยอดขายรถจักรยานยนต์ประจำปี 2547

ผลิตภัณฑ์
ฮอนด้า
ยามาฮ่า
ซูซูกิ
ไทเกอร์
คาวาซากิ
เจอาร์ดี
อื่นๆ
รวม (คัน)
ม.ค.
116,577
17,786
20,481
2,647
1,190
1,210
59
159,950
ก.พ.
115,804
24,056
23,184
2,231
2,276
1,248
48
168,847
มี.ค.
137,262
25,181
23,814
2,665
2,536
1,450
57
192,965
เม.ย.
102,898
19,532
19,615
2,508
2,529
1,213
26
148,321
พ.ค.
132,335
23,508
19,630
3,255
2,643
899
344
182,614
มิ.ย.
128,438
23,713
19,720
4,211
1,710
925
163
178,880
ก.ค.
110,478
26,436
19,564
4,108
1,742
897
55
163,280
ส.ค.
100,578
18,629
18,816
3,672
1,889
811
14
144,409
ก.ย.
103,801
19,368
20,182
3,834
1,561
778
11
149,535
ต.ค.
105,909
26,980
22,830
3,619
974
706
214
161,232
พ.ย.
135,092
31,297
24,442
5,650
2,683
860
225
200,249
รวม
จ.น.
1,289,172
256,486
232,278
38,400
21,733
10,997
1,216
1,850,282
%
70
14
13
2
1
1
-
.
ม.ค.-
พ.ค. 46
จ.น.
1,146,515
162,044
210,022
42,475
27,632
11,200
175
1,600,063
%
72
10
13
3
2
1
-
..
47/46
%
112
158
111
90
79
98
695
116
ที่มา : บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด

สำหรับรถจักรยานยนต์ 10 อันดับแรกที่ขายดีที่สุดในช่วง 11 เดือนแรกได้แก่ ฮอนด้าเวฟ100 จำนวน 757,718 คัน อันดับสองฮอนด้า เวฟ125 จำนวน 278,107 คัน อันดับสามฮอนด้า เวฟแซด 106,605 คัน อันดับสี่ยามาฮ่า มีโอ 102,134 อันดันห้าซูซูกิ สแมซ จูเนียร์ 81,777 คัน อันดับหกฮอนด้า โนวา โซนิค 67,620 คัน อันดับเจ็ด ฮอนด้า ดรีม125 63,323 คัน อันดับแปดยามาฮ่า นูโว 38,341 คัน อันดับเก้ายามาฮ่า เอ็กซ์-วัน 37,003 คัน อันดับสิบซูซูกิ สแมซ 36,702 คัน

ในเดือนพฤศจิกายน 2547 นั้นยอดขายรถจักรยานยนต์มีการเติบโตทุกประเภท โดยรถประเภท สกู๊ตเตอร์ นั้นมีอัตราการเติบโตสูงสุดคือ 117% ยอดขาย 17,846 คัน แซงหน้ายอดขายรถจักรยานยนต์ประเภท ครอบครัวกึ่งสปอร์ต ซึ่งเคยขายดีในอดีต ยอดขาย 14,031 คัน เติบโตเพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน 86% ส่วนยอดขายรถจักรยานยนต์ที่เป็นอันดับหนึ่งนั้นคือ ยอดขายรถจักรยานยนต์ประเภท ครอบครัว มียอดขายรวมทั้งสิ้น 166,987 คัน มีอัตราการเติบโต 23% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้านรถ สปอร์ต มียอดขายน้อยที่สุดคือ 1,385 คัน เติบโตเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ยอดขายรถจักรยานยนต์เดือนพ.ย.47 (แยกตามประเภทรถ)

ประเภท
จำนวน (คัน)
เปลี่ยนแปลง*
รถครอบครัว
166,987
+23%
รถครอบครัวกึ่งสปอร์ต
14,031
+86%
รถสปอร์ต
1,385
+16%
รถสกู๊ตเตอร์
17,846
+ 117%
รวม
200,249
-

จากการสำรวจของ "ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า สำหรับสถานการณ์การแข่งขันในตลาดรถจักรยานยนต์ล่าสุดนั้น บรรดาบริษัทรถจักรยานยนต์ได้มีการจัดกิจกรรมตรงเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการกระตุ้นกำลังซื้อในระดับล่าง ให้มีการซื้อรถจักรยานยนต์ โดยผู้ผลิตและจำหน่ายรถจักรยานยนต์ได้ร่วมมือกับบริษทไฟแนนซ์ต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและผ่อนชำระในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยอยู่ในอัตราร้อยละ 1.8% จากปกติที่คิด 1.99% และสามารถผ่อนนานได้ถึง 60 เดือน โดยมีการจัดกิจกรรมเจาะถึงพนักงานในโรงงานด้วยการจัดแสดงสินค้าถึงหน้าโรงงาน

สำหรับสาเหตุที่บริษัทจำหน่ายรถจักรยานยนต์ได้จัดกิจกรรมดังกล่าว เนื่องจากมีการแข่งขันในธุรกิจจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์กันอย่างเข้มข้น และมีการเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายจากหน้าร้านค้า หรือดีลเลอร์มาเป็นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยตรง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายพนักงานในโรงงานระดับล่างนั้นถือว่ามีความน่าสนใจในการขยายตลาด กอปรกับค่ายรถจักรยานยนต์บางส่วนได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ออกมาในราคาต่ำกว่า 3 หมื่นบาทเมื่อ 2-3 ปีก่อน ทำให้ค่ายรถจำเป็นต้องจัดกิจกรรมในลักษณะนี้มากขึ้น

สำหรับบริษัทไฟแนนซ์ที่ดำเนินการร่วมกับบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ในการจัดกิจกรรมตรงถึงหน้าโรงงาน ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นบริษัทไฟแนนซ์ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งบริษัทไฟแนนซ์เหล่านี้ได้เริ่มเข้ารุกสู่ตลาดสินเชื่อรถจักรยานยนต์มาได้ระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงแรกนั้นสามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดจากไฟแนนซ์ที่เน้นเจาะกลุ่มรถจักรยานยนต์ไปได้มาก แต่ในช่วงหลังนี้ ปรากฏว่าบรรดาไฟแนนซ์ของไทยได้แย่งส่วนตลาดมาบางส่วนได้ ทำให้การแข่งขันด้านสินเชื่อรถจักรยานยนต์จึงค่อนข้างเข้มข้น