ร่วมงานกับเรา
ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ > ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ประจำปี 2547

ยอดขายมอเตอร์ไซค์ 47 ทะลุ 2 ล้านคัน > รถสกู๊ตเตอร์มาแรง คาดปีนี้ก้าวขึ้นสู่ 2.4 ล้านคัน
ที่มา – MOTORING นสพ.ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 23-26 ม.ค.48

ยอดขายรถมอเตอร์ไซด์ปี 2547 ทะลุหลัก 2 ล้านคัน ขยายตัว 15% ขณะที่ตลาดพลิกผัน ยามาฮ่า แย่งแชร์ขึ้นสู่เบอร์สองแซงหน้าซูซูกิ ขณะที่เจ้าตลาดฮอนด้า ส่วนแบ่งลดไป 1% ไทเกอร์มอเตอร์ไซค์สายพันธุ์ไทยยังคงทิ้งห่างคาวาซากิรถสายพันธุ์ญี่ปุ่น คาดปี 2548 ยอดขายพุ่งสู่ 2.4 ล้านคัน รถสกู๊ตเตอร์มาแรง

รายงานยอดขายจากบริษัท เอ.พี.ฮอนด้าเปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในปี 2547 ที่ผ่านมาตัวเลขยอดขายรถจักรยานยนต์ทุกประเภทนั้นสามารถทำสถิติใหม่ด้วยยอดขายสูงถึง 2,039,394 คัน โดยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ที่ผ่านมาซึ่งมียอดขาย 1,766,860 คัน คิดเป็นจำนวน 15% โดยในจำนวนดังกล่าวนั้นเกือบทั้งหมดเป็นรถจักรยานยนต์ประเภท 4 จังหวะ ขณะที่รถจักรยานยนต์ประเภท 2 จังหวะนั้นมีจำนวนเพียง 3,418 คันเท่านั้น ทั้งนี้สาเหตุหลักที่จำนวนยอดขายรถ 2 จังหวะมีน้อยมาก เนื่องจากผลจากนโยบายส่งเสริมของรัฐบาลในด้านการลดมลพิษไอเสีย อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาของรถประเภท 4 จังหวะมีน้อยกว่า ผู้ผลิตมีการผลิตเพื่อส่งออกขายในตลาดจำนวนมาก ดังนั้นคาดว่าภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ ยอดขายรถประเภทนี้จะค่อยๆ หายไปจากตลาดในที่สุด

ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ประจำปี 2547 ในเดือนต่างๆ
(ยอดรวมทั้งปี = 2,039,394 คัน)

เดือน
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ยอดขาย (คัน)
159,950
168,847
192,965
148,321
182,614
178,880
เดือน
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ยอดขาย (คัน)
163,280
144,409
149,535
161,232
200,865
188,496


สำหรับรถจักรยานยนต์ยี่ห้อที่สามารถทำยอดขายได้มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในตลาดได้แก่ ฮอนด้า ด้วยจำนวนตัวเลข 1,422,164 คัน คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 70% โดยมีสัดส่วนลดลงจากปีที่ผ่านมา 1% และมีอัตราการเติบโตคิดเป็น 13% เมื่อเทียบกับปี 2546

อย่างไรก็ตามประเด็นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในตลาดรถจักรยานยนต์ในปีที่ผ่านมาก็คือ ยอดขายรถจักรยานยนต์ยี่ห้อ ยามาฮ่า สามารถก้าวขึ้นสู่อันดับสองของตลาดแทนที่ซูซูกิ ด้วยยอดขาย 284,057 คัน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 14% ทิ้งห่างจาก ซูซูกิ ซึ่งมียอดขาย 253,522 คัน ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด 12% และยามาฮ่าเป็นรถจักรยานยนต์เพียงยี่ห้อเดียวที่มีอัตราการเติบโต 50% สูงสุดมากกว่าอัตราการเติบโตของตลาดรวม ส่วนซูซูกิมีอัตราการเติบโต 8%

นอกจากนี้ในส่วนของรถจักรยานยนต์ ไทเกอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตไทยก็ยังคงมีส่วนแบ่งเป็นอันดับที่ 4 เป็นปีที่สองอย่างต่อเนื่อง มียอดขาย 42,214 คัน มากกว่า คาวาซากิ ซึ่งมียอดขาย 24,148 คัน แต่รถทั้งสองยี่ห้อมียอดขายเติบโตในอัตราถดถอยเมื่อเทียบกับปี 2546 จำนวน 7% และ 23% ตามลำดับ สำหรับ เจอาร์ดี รถจักรยานยนต์สัญชาติมาเลเซียนั้นมียอดขายเป็นอันดับ 6 ด้วยยอดขาย 11,715 คัน ส่วนแบ่งตลาด 1% เติบโตลดลง 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ยอดขายรถจักรยานยนต์ ประจำปี 2547 (แยกตามยี่ห้อ)

อันดับ
ยี่ห้อ
ยอดขาย (คัน)
ส่วนแบ่งตลาด
เปลี่ยนแปลง*
1
ฮอนด้า
1,422,164
70%
-1%
2
ยามาฮ่า
284,057
14%
+50%
3
ซูซูกิ
253,522
12%
+8%
4
ไทเกอร์
42,214
2%
-7%
5
คาวาซากิ
24,148
1%
-23%
6
เจอาร์ดี
11,715
1%
-7%
7
อื่นๆ
1,574
0%
-
รวม
2,039,394
-
-

ด้านยอดขายรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2547 ที่ผ่านมานั้นพบว่า รถจักรยานยนต์ประเภท ครอบครัว ยังคงเป็นอันดับหนึ่งด้วยยอดขาย 156,823 คัน อันดับสอง รถครอบครัวกึ่งสปอร์ต 15,742 คัน ใกล้เคียงกับยอดขาย รถสกู๊ตเตอร์ 14,538 คัน และรถสปอร์ต มียอดขายเพียง 1,393 คัน

ยอดขายรถจักรยานยนต์ประจำปี 2547 (แยกตามประเภทรถ)

ประเภท
จำนวน (คัน)
รถครอบครัว
156,823
รถครอบครัวกึ่งสปอร์ต
15,742
รถสกู๊ตเตอร์
14,538
รถสปอร์ต
1,393
รวม
188,496

ทั้งนี้คาดการณ์ว่าตลาดรถจักรยานยนต์ในปี 2548 นี้จะมียอดขายรวมราว 2.4 ล้านคัน และการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อจะทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการเจาะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าระดับล่าง ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมาจากปีที่ผ่านมา โดยจะเน้นเงื่อนไขทางด้านดอกเบี้ยและการส่งเสริมการขายมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ผลิตรถจักรยานยนต์บางรายคาดการณ์ว่ายอดจำหน่ายในปีนี้จะมีอัตราการเติบโตไม่หวือหวาเท่ากับปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้ยอดขายเติบโตแบบชะลอตัวเมื่อเทียบกับในอดีต

ส่วนรถจักรยานยนต์ที่คาดการณ์ว่าในปีนี้ผู้ผลิตจะให้ความสนใจกับรถจักรยานยนต์ประภทสกู๊ตเตอร์มากขึ้น เนื่องจากเป็นรถประเภทใหม่ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ และจะมีการแนะนำเปิดตัวรถประเภทนี้ลงสู่ตลาดหลากรุ่น